News and Activity

“ Social Collaboration
With Collective Impact ”

บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) สู่เศรษฐกิจแบบหมุนเวียน เพื่อความยั่งยืนในชุมชนบางกะเจ้า .

9 November 2020


บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) สู่เศรษฐกิจแบบหมุนเวียน เพื่อความยั่งยืนในชุมชนบางกะเจ้า



.
ถ้าพูดถึงปอดของโลกก็ต้อง Amazon แต่ถ้าปอดของกรุงเทพก็ต้องนึกถึง “คุ้งบางกะเจ้า” นอกจากคุ้งบางกะเจ้าจะเป็นปอดของคนกรุงเทพแล้ว ที่นี่ยังเป็นอีกสถานที่พักผ่อนหย่อนใจใกล้เมืองกรุง ผู้คนมักนิยมมาพักผ่อนหย่อนใจกันด้วยการปั่นจักรยาน และด้วยความร่มรื่นและเขียวชอุ่มของคุ้งบางกะเจ้า หลายๆ คนคงรู้สึกตกหลุมรักได้ไม่ยากเลย แต่ด้วยความที่คุ้งบางกะเจ้าเป็นบริเวณที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาส่งผลให้มีขยะลอยมาเกยตื้นจำนวนมาก และภาพเหล่านั้นก็ไม่น่ามองเอาเสียเลย
.
การดำเนินงานของคณะการจัดการขยะโครงการ OUR Khung BangKachao ได้จัดตั้งขึ้น โดยมีการดำเนินงานในรูปแบบ Social Collaboration Impact ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายที่มีมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นหัวเรือใหญ่ร่วมดำเนินการ ซึ่งมี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เป็นประธาน โดยร่วมกับกลุ่ม ปตท. อย่าง บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC และภาคีเครือข่าย เช่น Central Group,True,CP,SCB ฯลฯ รวมถึงชุมชนคุ้งบางกะเจ้า โดยนำแนวคิดเรื่อง “บวร” จากกลุ่ม ปตท. อย่าง GC และ GPSC เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าให้คงเป็นพื้นที่สีเขียว ทั้งสนับสนุนให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนสร้างความยั่งยืนในชุมชนคุ้งบางกะเจ้าสืบไป....
.
คำว่า “บวร” หมายถึง บ้าน วัด โรงเรียน ซึ่งทั้งสามสถาบันจะทำหน้าที่ในการจัดการขยะโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางแต่จะทำได้อย่างไรโพสต์นี้จะพาทุกคนไปดูกัน

.
จากปัญหาขยะในชุมชนคุ้งบางกะเจ้าทำให้ท่านพระมหาประนอม เจ้าอาวาสวัดจากแดงและ GC ได้ร่วมคิด วิธีแก้ไขโดยนำเอาคุณสมบัติของพลาสติกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งก็คือการนำขวดน้ำที่ใช้แล้วมารีไซเคิล แล้วจึงนำไปผลิตเป็นจีวร
.
โดยวัดทำหน้าที่เป็นศูนย์รวบรวมขวดน้ำพลาสติก นำส่งให้กับทางบริษัทเพื่อเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนพลาสติกให้เป็นเส้นด้าย และเข้าสู่กระบวนการทอให้เป็นผ้า หลังจากนั้นทางโรงงานจะนำส่งกลับมายังวัด เพื่อให้คนในชุมชนนำผ้ามาตัดเย็บให้เป็นจีวร เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านในชุมชน โดยในกระบวนการแปรรูปจากขวดมาเป็นผ้านั้นทางวัดจากแดงได้รับการอนุเคราะห์จากทางคณะทำงานด้านการจัดการขยะ โครงการ OUR BangKachao เข้ามาช่วยเหลือในปี 2561
.
นับตั้งแต่ที่บริษัทเอกชนได้เข้ามาสนับสนุนให้เป็นการรีไซเคิลให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ทำให้คนเห็นว่าที่จริงแล้วขยะมีมูลค่า คนในชุมชนจึงหันมาแยกขยะกันมาขึ้นเพื่อส่งให้วัด และส่วนหนึ่งวัดก็รับซื้อจากโรงเรียน


.
ขยะจะลดลงได้ก็ต่อเมื่อคนมีความเข้าใจในเรื่องของขยะ มองเห็นมูลค่าที่อยู่ในนั้น และในเมื่อเรามีความเข้าใจแล้วว่า ของที่ใช้แล้วสามารถเอาไปทำอะไรต่อให้เกิดประโยชน์ได้ ขยะก็จะไม่เกิด การทิ้งเกลื่อนกราดก็จะหายไป



บทความจาก :

News Other

โครงการ OUR Khung BangKachao รับพัฒนาพื้นที่ราชพัสดุ “คุ้งบางกะเจ้า” พร้อมหนุน กรมป่าไม้ - ปตท. พัฒนาสวนเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา ต่อเนื่อง

เช้าวันนี้ (4 กุมภาพันธ์ 2564) - นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) 2 ฉบับ ประกอบด้วย บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวราชพัสดุภายใต้การดูแลของกรมป่าไม้ (โครงการสวนกลางมหานคร) อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่าง โครงการ OUR Khung BangKachao โดยมูลนิธิชัยพัฒนา กับกรมป่าไม้ และ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวและบริหารจัดการเรียนรู้ สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 80 พรรษา ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ระหว่าง กรมป่าไม้ กับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ณ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าสู่ความยั่งยืน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวถึง “โครงการ OUR Khung BangKachao” ภายใต้การกำกับดูแลของมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าในรูปแบบสานพลังความร่วมมือ (Social Collaboration with collective impact) จากองค์กรชั้นนำทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ตั้งแต่ปี 2561 มีเป้าหมายร่วม (Shared Goal) ในการยกระดับและพัฒนาพื้นที่ “คุ้งบางกะเจ้า” ให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืนในทุกมิติ มีพื้นที่สีเขียวอันอุดมสมบูรณ์ พร้อมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของคนในท้องถิ่นอย่างสมดุล โดยน้อมนำศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และ            หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) มาสืบสานขยายผลตามพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว              มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10) และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพฯ มาเป็นหลักในการดำเนินโครงการฯ ทำให้เกิดความร่วมมือและคณะทำงานด้านต่าง ๆ 6 มิติ ได้แก่ การพัฒนาพื้นที่สีเขียว การจัดการน้ำ การจัดการขยะ การพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การส่งเสริมอาชีพ และ การพัฒนาเยาวชนฯ ที่ต้องร่วมมือและเชื่อมโยงงานกัน  ซึ่งการลงนามบันทึกข้อตกลงในวันนี้ เพื่อกำหนดแนวทางความร่วมมือระหว่างโครงการ OUR Khung BangKachao กับการพัฒนาพื้นที่สีเขียวราชพัสดุภายใต้การดูแลของกรมป่าไม้ 1,276 ไร่ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ให้เห็นเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่ทั้ง 6 มิติ ของโครงการ OUR Khung BangKachao คงไว้ซึ่งความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ การให้ชุมชนมีส่วนร่วม และเป็นแนวทางการดูแลพื้นที่ในระยะยาวต่อไป-2-นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ ได้ดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ พัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าทที่หลากหลาย อาทิ กิจกรรมปลูกต้นไม้ จิตอาสา ค่ายเยาวชนรักษ์พงไพร และการดูแลสวนสาธารณะในพื้นที่ สำหรับความร่วมมือในโครงการ OUR Khung Bangkachao ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา โครงการฯ ได้เข้ามาพัฒนาพื้นที่ราชพัสดุในคุ้งบางกะเจ้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพื้นที่ราชพัสดุในคุ้งบางกะเจ้า คิดเป็นพื้นที่เพียงร้อยละ 10 ของพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า ส่วนที่เหลือต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ที่เป็นเจ้าของช่วยกันอนุรักษ์พื้นที่แห่งนี้ ที่เป็นเสมือนปอดกลางกรุงที่ดีที่สุดของเอเชียเอาไว้ให้เป็นพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนนายอดิศร นุชดำรง อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงในวันนี้ ถือเป็นการตั้งเป้าหมายงานด้านพื้นที่สีเขียวในคุ้งบางกะเจ้าให้ชัดเจน โดยกรมป่าไม้ในฐานะผู้กำกับดูแลพื้นที่ราชพัสดุ  พร้อมสนับสนุนพื้นที่เข้าสู่โครงการ OUR Khung BangKachao รวมถึงสนับสนุนงบประมาณ ข้อมูล          องค์ความรู้ทางวิชาการ และกำลังคน ในการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่สีเขียว และพัฒนาในมิติอื่น ๆ อีก นอกจากนี้ยังต่อยอดความร่วมมือกับ ปตท. ในการช่วยฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวและบริหารจัดการเรียนรู้ที่สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 80 พรรษา ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อสร้างมูลค่าให้กับสวนฯ แห่งนี้เป็นแหล่งที่คนอยากมาเยี่ยมชม รับทราบเรื่องราวคุ้งบางกะเจ้า และศึกษาระบบนิเวศรูปแบบการอนุรักษ์ป่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างต่อไปขณะที่ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. เปิดเผยว่า “ปตท. เล็งเห็นถึงความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด ทั้งการสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด การพัฒนานวัตกรรมเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม หรือนวัตกรรม “NONG PIM” ระบบตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 และวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ต่าง ๆ สำหรับการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมืองนับเป็นอีกงานที่ ปตท. ให้ความสำคัญ เพราะ ปตท. สั่งสมองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากโครงการปลูกป่าฯ และการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ ในการฟื้นฟูป่าของ ปตท. 3 แห่ง จึงได้นำความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่มาร่วมสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในโครงการ OUR Khung BangKachao ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน โดยมุ่งรักษาพื้นที่สีเขียวประมาณ 6,000 ไร่ ในคุ้งบางกะเจ้า สร้างอัตลักษณ์พื้นที่สีเขียวต้นแบบ และเพิ่มครัวเรือนเกษตรปลอดภัย นอกจากนี้ ปตท. ยังให้การสนับสนุนกรมป่าไม้ในการฟื้นฟูสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 80 พรรษา ร่วมกับกรมป่าไม้บริหารจัดการเรียนรู้ให้เป็นเสมือนห้องเรียนธรรมชาติให้กับนักเรียนนักศึกษา เป็นพื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน และเป็นแลนด์มาร์ก (Landmark) สำคัญอีกแห่งหนึ่งของคุ้งบางกะเจ้าต่อไป” นายอรรถพล กล่าว

8 Febuary 2021

พิธีมอบเมล็ดพันธุ์ผักพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แก่ประชาชนชาวคุ้งบางกะเจ้าทั้ง 6 ตำบล

    องค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า จัดพิธีมอบเมล็ดพันธุ์ผักพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แก่ประชาชนชาวคุ้งบางกะเจ้าทั้ง 6 ตำบล รวมจำนวน 800 ครัวเรือน ได้แก่ ต. บางน้ำผึ้ง จำนวน 111 ครัวเรือน ต.บางกระสอบ จำนวน 110 ครัวเรือน ต.บางกอบัว จำนวน 187 ครัวเรือน ต.ทรงคะนอง จำนวน 56 ครัวเรือน ต.บางกะเจ้า จำนวน 219 ครัวเรือน และ ต.บางยอ จำนวน 117 ครัวเรือนโดยคณะทำงานด้านการพัฒนาสีเขียวได้ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนาขอเมล็ดพันธุ์ผักพระราชทานจากศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริมอบให้แก่ชาวคุ้งบางกะเจ้าที่มีความประสงค์จะปลูก    นอกจากนี้ประชาชนยังได้เข้าร่วมรับความรู้ก่อนการปลูกในการอบรมเชิงปฏิบัติการ จากอาจารย์คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในหัวข้อ เทคนิคการปลูกผักและการเพาะกล้า โรคพืชในผักและการจัดการ และแมลงในพืชผักและการจัดการ ซึ่งจัดขึ้นจำนวนแล้วจำนวน 3 รุ่น มีผู้ร่วมอบรมทั้ง 6 ตำบล รวม 180 คน    ทั้งนี้ โครงการมอบเมล็ดพันธุ์ผักพระราชทานที่คุ้งบางกะเจ้า เป็นการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในพื้นที่ส่วนบุคคลภายใต้โครงการ OUR Khung BangKachao ดำเนินงานโดยคณะทำงานด้านการพัฒนาพื้นที่สีเขียว ซึ่งบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เป็นประธานคณะทำงานร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายกว่า 30 องค์กร มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัว ลดรายจ่าย สร้างรายได้ แบ่งปันกันและกัน สามารถพึ่งพาตัวเองด้านอาหารได้พิธีรับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ผัก ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่คุ้งบางกเจ้า ต.บางยอ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการพิธีรับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ผัก ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่คุ้งบางกเจ้า ต.บางกะเจ้า อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการพิธีรับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ผัก ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่คุ้งบางกเจ้า ต.บางกะสอบ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการพิธีรับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ผัก ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่คุ้งบางกเจ้า ต.บางอบัว อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการพิธีรับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ผัก ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่คุ้งบางกเจ้า ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการพิธีรับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ผัก ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่คุ้งบางกเจ้า ต.บางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ

30 September 2020

7 คณะทำงานฯ โครงการ OUR Khung BangKachao รายงานผลการดำเนินงานขับเคลื่อนพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า รอบครึ่งปี

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าสู่ความยั่งยืน ครั้งที่ 1/2563 โครงการ OUR Khung BangKachao  พร้อมด้วยคุณธฤต สำราญเวทย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ศ.ดร.เกษม จันทร์แก้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ศ.ดร. สนิท อักษรแก้ว ประธานคณะอนุกรรมการฯ (ด้านกฎหมาย) องค์กรภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมฟังผลความก้าวหน้าการดำเนินงานครึ่งปีแรก ในปี 2563 จากประธานคณะทำงานทั้ง 7 คณะโดยสรุปความคืบหน้าได้ดังนี้• คณะทำงานด้านอำนวยการและสื่อสาร จัดงานแถลงข่าว “ 1 ปี แห่งการขับเคลื่อนและก้าวต่อไปของการสานพลัง โครงการ OUR Khung BangKachao" และผสานพลังภาคีเครือข่ายมอบอุปกรณ์ป้องกัน COVID 19 สร้างความปลอดภัยให้ชาวคุ้งบางกะเจ้า รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและขับเคลื่อนการทำงานผ่านสภาชุมชนคุ้งบางกะเจ้า เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมพัฒนาในพื้นที่ของชุมชนอย่างยั่งยืน• คณะทำงานด้านการพัฒนาเยาวชน การศึกษา และวัฒนธรรม มอบสื่อการเรียนการสอนสนับสนุนนักเรียนในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า 11 โรงเรียน• คณะทำงานด้านการพัฒนาพื้นที่สีเขียว มีการติดตามสำรวจการเจริญเติบโตของกล้าไม้ที่ปลูกบนพื้นที่ราชพัสดุ 400 ไร่ ระยะที่ 1 เมื่อปี 2562 พร้อมร่วมมือกับกรมพัฒนาที่ดินและภาคีเครือข่าย ตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพดิน และหาแนวทางแก้ไขปัญหาสภาพดินในพื้นที่ ให้พร้อมปลูกอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป สำหรับแผนพัฒนาพื้นที่เกษตรส่วนบุคคลส่งเสริมการปลูกเมล็ดพันธุ์ผักพระราชทานจากศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ แก่ชาวคุ้งบางกะเจ้า 6 ตำบล รวม 800 ครัวเรือน พร้อมส่งเสริมความรู้ในการปลูก บำรุงรักษา และการขยายพันธุ์ เพื่อนำมาเป็นอาหาร ช่วยสร้างรายได้ ลดรายจ่ายครัวเรือน• คณะทำงานด้านการจัดการน้ำและการกัดเซาะริมตลิ่ง ดำเนินการติดตั้งเครื่องโทรมาตร เพื่อติดตามสถานการณ์ของน้ำภายในคุ้งบางกะเจ้าทั้งคุณภาพและปริมาณ เพื่อรองรับปัญหาน้ำแล้งและน้ำเค็ม ครบ 8 จุด? อีกทั้งได้ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพ?ระบบการบริหารจัดการน้ำ? ด้วยเทคโนโลยีจากพลังงานแสงอาทิตย์? เติมอากาศให้กับน้ำแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียภายในสวนศรีนครเขื่อนขันธ์? และสร้างต้นแบบการจัดการน้ำใน?2พื้นที่คือตำบลบางกะเจ้าและตำบลบางกระสอบ? เตรียมพร้อมการขยายผลการจัดน้ำไปยังชุมชนบริเวณ?ใกล้เคียง• คณะทำงานด้านการจัดการขยะ สามารถรวบรวมขยะทั้งในและนอกพื้นที่ตำบลทรงคนอง ตั้งแต่เดือน ม.ค. – มิ.ย. 63 ได้จำนวน 42 ตัน ซึ่งสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 222 tCO2e (เทียบกับการปลูกต้นไม้ 24,705 ต้น) • คณะทำงานด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ในแหล่งท่องเที่ยวและจัดทำป้ายสื่อความหมายแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคุ้งบางกะเจ้า

25 August 2020